วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558




ศาสนากับสังคมไทย

พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุก ๆ ด้าน จึงมีลักษณะที่เป็นสภาพที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย ซึ่งพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ไว้อย่างครอบคลุมประเด็น พระพุทธศาสนาถือ
ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้เพราะ การที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน ทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของ
พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน 
ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
 เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มเติม








พระสงฆ์

พระสงฆ์ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
 แล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช 
ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน
พระสงฆ์ จัดเป็นรัตนะหนึ่งในจำนวนรัตนสามหรือพระรัตนตรัย 
 ซึ่งได้แก่พระพุทธรัตน พระธรรมรัตน พระสังฆรัตน  พระสงฆ์ ได้แก่ ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า 
หลังจากได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใส ต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ 
ปฏิบัติตามธรรมและวินัยที่กำหนดไว้เฉพาะสำหรับภิกษุ จำนวน ๒๒๗ ข้อ บางครั้งเรียกว่า 
สงฆ์ซึ่งพระสงฆ์ รูปแรกของโลก คือ พระอัญญาโกณทัญญะเพิ่มเติม



พระธรรม

ความหมายของธรรม ถ้าจะว่ากันแท้จริงแล้ว ชีวิตก็เป็นธรรมะอยู่แล้ว แต่มีธรรมะอีกหลาย ๆ อย่างที่ต้องประกอบกันอยู่ คำว่าธรรมะ มีความหมายประกอบกัน 4 อย่างคือ
1. ตัวธรรมชาติ
2. กฎธรรมชาติ
3. หน้าที่ตามกฎธรรมชาติ
4. ผลที่เกิดจากหน้าที่
          เมื่อมองตัวเรา เนื้อหนัง ร่างกาย จิตใจของเราที่มีอยู่นี้เรียกว่า
“ตัวธรรมชาติ” ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณที่เป็นตัวร่างกายมีชีวิต
นี้เรียกว่า ตัวธรรมชาติเพิ่มเติม

         พระพุทธ

พุทธศาสนิกชนต้องนับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสมณะ (ที่พึ่ง ที่ระลึก)
พระพุทธ หมายถึง พระผู้ตรัสรู้ คือรู้อย่างจำรัส หรือแจ่มแจ้ง
พระธรรม หมายถึง ความจริง หรือสัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และนำมาสั่งสอน
พระสงฆ์ หมายถึง พระพุทธสาวก ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์ ในระดับสูง
ได้แก่ท่านผู้บรรลุความเป็นพระอริยบุคคล ๔ ประเภทเพิ่มเติม